Toggle navigation
0
เข้าสู่ระบบ
ออกจากระบบ
ระบบสืบค้นงานวิจัย
จำนวนโครงการวิจัย 301 โครงการ
ประเภทงานวิจัย
งานวิจัยจำแนกตามภารกิจของหน่วยงาน
การจัดการที่อยู่อาศัยและบริบททางกายภาพรองรับการอยู่อาศัย
การยกระดับคุณภาพชีวิตในการอยู่อาศัย
การบริหารและพัฒนาศักยภาพองค์กร
งานวิจัยจำแนกตามกลุ่มองค์ความรู้
ข้อมูลข่าวสารเพื่อการตัดสินใจและสนับสนุนเคหะการ (Infoware)
สมรรถนะทางสังคมสำหรับเคหะการ (Software)
เทคโนโลยีและนวัตกรรมเคหการ (Hardware)
งานวิจัยจำแนกตามทิศทางการพัฒนาประเทศ
กลุ่มเป้าหมาย (Target)
ประเด็นที่ให้ความสำคัญ (Agenda)
พื้นที่ที่ให้ความสนใจ (Area)
ข้อเสนอแนะ
ติดต่อเรา
โครงการวิจัยเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยของภาครัฐ โดยใช้เกณฑ์ Eco-village
1 นักวิจัย |
ผศ. สุริยน ศิริธรรมปิติ :
บทคัดย่อ (ภาษาไทย):
การเคหะแห่งชาติได้ริเริ่มโครงการพัฒนาชุมชนน่าอยู่น่าสบายอย่างยั่งยืน หรือ Ecovillage โดยได้มอบหมายที่ปรึกษาโครงการคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร เป็นผู้พัฒนาเกณฑ์การประเมิน Ecovillage ขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2555 แต่หลังจากได้ทดลองนำเกณฑ์ Ecovillage ไปเป็นแนวทางในการออกแบบ และจัดทำโครงการพบว่าในบางหัวข้อ ยังไม่สามารถนำไปใช้ได้จริง ด้วยข้อจำกัดที่แตกต่างกันตามบริบท งบประมาณโครงการ ความรู้ความเข้าใจของบุคลากร และการจัดการโครงการภายในการเคหะแห่งชาติ ดังนั้นการเคหะแห่งชาติจึงได้ว่าจ้าง ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อนำเกณฑ์ Ecovillage มาพัฒนาปรับปรุงต่อยอด ผ่านการศึกษาปัญหาที่เกิดจากการใช้งานเกณฑ์ Ecovillage การศึกษาเกณฑ์อาคารเขียวทั้งในและต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง การทดลองใช้เกณฑ์ Ecovillage เดิมมาประเมินในโครงการจริงของการเคหะ และโครงการภาคเอกชน และประสานงานกับคณะทำงานและเจ้าหน้าที่ของการเคหะแห่งชาติ เพื่อระบุปัญหาและข้อจำกัดที่เกิดขึ้นจากการใช้เกณฑ์ Ecovillage เดิม ทั้งนี้ กระบวนการดังกล่าวทำให้สามารถกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำที่โครงการควรมี ซึ่งจะช่วยให้การออกแบบ ก่อสร้าง และบริหารจัดการโครงการที่พักอาศัยของการเคหะแห่งชาติดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน และสามารถใช้ได้จริงกับทุกโครงการของการเคหะแห่งชาติ โดยยังคงแนวคิดเดิมคือลดการใช้พลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กระบวนการวิจัยจะประกอบด้วย การรวบรวมผลการศึกษาเกณฑ์อาคารเขียวต่างๆ การจำลองโมเดลพลังงาน การวิเคราะห์ต้นทุนค่าก่อสร้างที่เกิดขึ้น ประกอบกับการสำรวจข้อคิดเห็นต่างๆ ทั้งจากการสนทนากลุ่มเพื่อระดมความเห็นกับคณะทำงานของการเคหะแห่งชาติ และการอภิปรายร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหารระดับสูงของการเคหะแห่งชาติ เพื่อทำการปรับปรุงและพัฒนาเกณฑ์ในขั้นสมบูรณ์ โดยเกณฑ์ Ecovillage ที่ปรับปรุงขึ้นใหม่นั้น ได้ทำการปรับปรุงให้เหมาะสมกับรูปแบบการจัดการโครงการของการเคหะแห่งชาติมากขึ้น และง่ายต่อการ นำไปใช้มากขึ้น ผลจากการศึกษาข้างต้นพบว่าการปรับปรุงเกณฑ์ต้องคำนึงถึง 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ ไม่สร้างภาระด้านเวลา หรือเอกสารให้แก่สถาปนิกและวิศวกรผู้ออกแบบของการเคหะแห่งชาติ หลีกเลี่ยงการคำนวณทางฟิสิกส์ที่ซับซ้อนเกินกว่าที่ผู้ออกแบบอาคารทั่วไปจะทำได้ เน้นการใช้ระบบการประเมินตนเอง หรือ Self-Assessment แทนการใช้ผู้เชี่ยวชาญภายนอกมาตรวจประเมิน และ ลดขั้นตอนการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เฉพาะทางในการจำลองประสิทธิภาพพลังงานและแสงสว่าง โดยทางคณะผู้วิจัย มีความเห็นว่าต้องเป็นลักษณะแบบ Prescriptive หรือเช็คลิสต์สิ่งที่ต้องดำเนินการเป็นข้อๆ ไป และต้องเป็นรูปแบบที่ผู้ออกแบบสามารถทำการประเมินแบบได้ด้วยตัวเอง เกณฑ์ Ecovillage ที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ แบ่งหัวข้อตามระดับการประเมินซึ่งแบ่งออกได้ 2 ประเภทดังนี้ ข้อบังคับ ซึ่งเป็นข้อที่ทางทีมผู้วิจัยได้ศึกษาวิเคราะห์ตามกระบวนการต่างๆ พบว่าควรมีอยู่ในโครงการ และสามารถนำมาแบ่งเกณฑ์ได้เป็นระดับ 4 ตามความเหมาะสม ซึ่งในระดับ Certify ผู้ออกแบบต้องดำเนินตามที่ระบุไว้ทุกข้อ และสำหรับระดับที่สูงขึ้นจะมีสิ่งที่ต้องดำเนินการเพิ่มขึ้นไปทีละขั้น เช่น ถ้าโครงการต้องการได้รับรองระดับ Silver จะต้องดำเนินการตามข้อกำหนดทุกของระดับ Certify และเพิ่มข้อกำหนดในระดับ Silver และถ้าเป็นระดับ Platinum ซึ่งเป็นระดับสูงสุด จะต้องดำเนินการข้อกำหนดครบทุกข้อ ตามเช็คลิสต์ของแต่ละระดับ และ ข้อเลือกทำ หากโครงการไม่สามารถดำเนินการตามข้อบังคับตามเช็คลิสต์ได้ ผู้วิจัยได้เปิดโอกาสให้ใช้เกณฑ์ในหมวด Innovation เพื่อนำมา ทดแทนได้ แต่จำนวนข้อที่เปิดโอกาสให้ทดแทนจะแตกต่างกันไปตามระดับ ผลของการจัดทำโครงการพักอาศัยแนวราบด้วยเกณฑ์ Ecovillage พบว่าจะช่วยลดพลังงานได้ 20.84% สำหรับระดับ Certify 24.01% สำหรับระดับ Silver 24.90% สำหรับระดับ Gold และ 37.63% สำหรับระดับ Platinum และในโครงการพักอาศัยแนวดิ่ง 9.52% สำหรับระดับ Certify และระดับ Silver 10.83% สำหรับระดับ Gold และ 20.27% สำหรับระดับ Platinum ในส่วนของค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นจากการจัดทำโครงการด้วยเกณฑ์ Ecovillage พบว่าค่าก่อสร้างในโครงการพักอาศัยแนวราบจะเพิ่มขึ้น 0.65% สำหรับระดับ Certify 1.25% สำหรับระดับ Silver 1.66% สำหรับระดับ Gold และ 8.00% สำหรับระดับ Platinum ในโครงการพักอาศัยแนวดิ่ง ไม่มีค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นสำหรับระดับ Certify และ ระดับ Silver เพิ่มขึ้น 0.07% สำหรับระดับ Gold และ 0.90% สำหรับระดับ Platinum โดยทั้งนี้อาคารพักอาศัยแนวตั้ง จะสามารถผ่านเกณฑ์ได้โดยมีค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าอาคารพักอาศัยแนวราบ
บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ):
National Housing Authority (NHA) launched a research project led by Professor Dr. Atch Sreshthaputra to develop a rating system for assessing self-sufficient and eco-friendly community called Ecovillage in 2012. The rating system has been used as a guideline and assessment tool for developing NHA’s housing projects, however, it is found that some requirements of Ecovillage could not be applied to some projects due to limitations caused by particular site context, projects’ budget, lack of understanding and management capability. As a result, NHA has appointed Chula Unisearch, Chulalongkorn University to conduct a research aiming to improve the existing Ecovillage through analysis of previous implementation, study of similar domestic and international rating systems, actual project assessment for both NHA’s and non-NHA’s projects and coordination with NHA’s working team to identify obstacles and limitations in Ecovillage implementation. This process will help identifying which existing Ecovillage requirement should be set as prerequisite or minimum criteria for eco housing development in the new Ecovillage. The new Ecovillage will be able to practically direct design, construction and management of the future NHA’s development while the concept of energy efficiency and environmental concern will not be compromised. Through the process, the research team has collected information from analysis and simulation results and comments from the discussion with NHA staffs and the group discussion with proficient, experts and chief executive of NHA to develop the final revised Ecovillage. The new Ecovillage should be revised to suit NHA’s capability by 4 criteria i.e. not consuming much time and cause much documentation work load for NHA’s architects and engineers, avoid complicated calculations, use self-assessment method rather than outsourced assessors and minimize use of computer simulation program. So research team concluded that the new Ecovillage should be prescriptive or in form of a checklist of required items which the designers can assess their own projects. The new Ecovillage has 2 types of requirements as follows; Prerequisite - number of prerequisites is varied by desired certification level. The higher the certification level, the more number of prerequisites. For example, if a project would like to achieve Silver certification, the project will need to be complied with Silver-level prerequisites in addition to all prerequisites in Certify level. If Platinum certification which is the highest level is pursued, all prerequisites must be met. Optional requirements – if projects fail to pass any of the prerequisites, the new Ecovillage give an opportunity for the project team to replace the prerequisite by achieving any of the requirements in Innovation category but number of replacement is limited and differs in each certification level. The energy saving percentage of low-rise housing that is designed by using the new Ecovillage are 20.84% for Certify level, 24.01% for Silver level, 24.90% for Gold level and 37.63% for Platinum, comparing to NHA’s conventional building. In mid- to high-rise housing, the percentage of energy reduction are 9.52% for Certify and Silver levels, 10.83% for Gold level and 20.27% for Platinum level. The increase of construction cost in the new-Ecovillage low-rise buildings are 0.65% for Certify level, 1.25% for Silver level, 1.66% for Gold level and 8.00% for Platinum level. For the mid- to high-rise buildings, there is no incremental construction cost for Certify and Silver levels while 0.07% and for 0.90% increase are found for Gold and Platinum levels respectively. Therefore, mid- to high- NHA buildings can archive the new Ecovillage standard with lower incremental construction cost than NHA low-rise housing.
ผู้รับจ้าง: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปีที่ดำเนินโครงการ: 2559
ยอดเข้าชม 239
เอกสารงานวิจัยโครงการ
ชื่อเอกสาร
ประเภท
เลือกเอกสาร
สมบูรณ์
รายงานฉบับสมบูรณ์ .pdf
บทสรุปผู้บริหาร
รายงานสรุปภาพรวมผู้บริหาร .pdf
บทสรุปผู้บริหาร Eng
รายงานสรุปภาพรวมผู้บริหาร .pdf
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผศ. สุริยน ศิริธรรมปิติ